ประวัติ ของ จิรายุ ห่วงทรัพย์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ มีชื่อเล่นว่า "ยุ" เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ที่เขตคลองสามวา (เขตมีนบุรีของจังหวัดพระนครในขณะนั้น) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเซนต์จอห์น ปริญญาโท สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศึกษาต่อการออกแบบที่นครเมลเบินท์ ออสเตเลีย

นายจิรายุเริ่มต้นเป็น นักเขียนคำโฆษณาที่คุ้นเคย “ก็ลมมันเย็น” ต่อมานายจิรายุไปเป็นนักข่าวที่หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ มีความเชี่ยวชาญเรื่อง ระบบการสื่อสาร คมนาคม โดยนายจิรายุได้ทำงานนานถึง 8 ปี นายจิรายุ อยู่ในเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 35 เคยได้รางวัล ภาพถ่ายการสลายการชุมนุม จากนั้น 2 ปี นายจิรายุ ย้ายไปเป็น บก.หน้า 1 นสพ.ไทยไฟแนนเชียล ก่อนที่จะย้ายไปเป็นดีเจที่วิทยุ อสมท. FM 99 Mhz และเข้าทำงานที่สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ตั้งแต่สถานียังไม่ออกอากาศ นายจิรายุ เริ่มต้นงาน ในตำแหน่งผู้สื่อข่าว เศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวเหตุการณ์ และได้เป็นผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจคู่กับ นายจิระ ห้องสำเริง ดร.ณัฏฐา โกมลวาทิน และรายการข่าวเช้าไอทีวี

ด้วยความชอบการ ผจญภัย นายจิรายุ ได้เลื่อนขั้นไปเป็นผู้ประกาศข่าวภาคสนามแถวหน้าของ itv ในยุคที่ itv โดดเด่นในสังคมไทย อาทิข่าว ยึดสถานทูตพม่า ,ข่าวไฟไหม้รอยัลพล่าซ่าพัทยา, ม็อบไทยซัมมิต, เหตุการณ์สังหารป่าไม้เขาใหญ่, น้ำป่าถล่มเมืองลับแล, รถไฟตกรางที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่, เหตุการณ์ม็อบสีลม และเหตุการณ์สึนามิในภาคใต้ ฯลฯ อีกทั้งได้รับการแต่งตั้งเป็นบรรณาธิการข่าว ทางอากาศ (Sky News)

หลังการรัฐประหาร ปี 2549 จนถึงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ในปี 2550 เกิดวิกฤติ ITV จน ITV เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ TITV ต่อมาแปรสภาพเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส นายจิรายุ ปฏิเสธที่จะทำงาน กับ TPBS จนกระทั่งในปี 2550 นายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย(ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์)มา เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ในสมัยนายจักรภพ เพ็ญแข เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ทีมงาน ITV เดิมที่ไม่ไปทำงานกับ TPBS เข้ามาบริหารงาน

นายจิรายุ ได้รับการชักชวน จาก นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ (ผอ.ไทยรัฐทีวี 2560) นายจิรายุ จึงไปเป็นผู้ประกาศข่าวที่NBT พร้อมกับผู้ประกาศข่าวอีกหลายคน อาทิ นางปนัดดา วงศ์ผู้ดี, นางสาวตวงพร อัศววิไล และนายจอม เพชรประดับ เป็นต้น

ในปี 2552 ในยุคนายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี NBTถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) ในสมัยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยใช้สัญลักษณ์ ใหม่เป็นรูปแบบปัจจุบันซึ่งมีชื่อเรียกติดปากว่า "หอยสีม่วง" นายจิรายุถูกปลดออกตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 พร้อมกับ นางปนัดดา วงศ์ผู้ดี นางสาวตวงพร อัศววิไล และนายจอม เพชรประดับ ด้วยเหตุที่พวกเขาประกาศข่าว อยู่ในช่วงเวลาที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบุกยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นายจิรายุจึงตัดสินใจลงเล่นการเมืองโดยเข้าร่วมเป็นคณะทำงานโฆษกพรรคเพื่อไทย[1]และในการเลือกตั้งปี 2554 นายจิรายุ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 18 (เขตคลองสามวา) โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็น ส.ส.หลายสมัย อย่างนาย[[สมัย เจริญช่าง และการเลือกตั้งครั้งล่าล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายจิรายุ ยังรักษาแชมป์ไว้ได้สำเร็จ เอาชนะคู่แข่งจากพรรคพลังประชารัฐ อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ในเขตเลือกตั้งที่ 16 คลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ในวงการการเมือง นายจิรายุ เป็นนักตีแผ่ทางสังคมหลายเรื่อง ทั้ง การเปิดโปงทุจริต โครงการชุมชนพอเพียง, การจัดซื้อรถและเรือดับเพลิง และที่โด่งดัง คือ การตรวจสอบ กล้องดัมมี่ CCTV ของ กทม. และสนามฟุตซอล ที่หนองจอก

ล่าสุดในการยึดอำนาจปฏิวัติ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ผบ.ทบ. ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ได้ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ให้ไปรายงานตัวตามประกาศฉบับที่ 14/2557 และถูกควบคุมตัวโดยทหารติดอาวุธ และนำไปควบคุมตัวไว้ในค่ายทหารแห่งหนึ่งที่จังหวัดสระบุรี โดยไม่ให้ติดต่อสื่อสารหรือเข้าเยี่ยมแต่อย่างใด

ในด้านความรู้ความสามารถ นอกจากจะชอบการแข่งขันรถยนต์เป็นชีวิตจิตใจแล้ว เขายังเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ และเป็นผู้สะสมป้ายทะเบียนรถยนต์ต่างประเทศมากที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นนักแข่งรถยนต์ ทั้งทางเรียบ และทางฝุ่น และผู้จัดการแข่งขันรถยนต์ หลากหลายรายการ อาทิ OFFROAD TROPHY ที่โด่งดังจนถึงปีจุบัน (2560)

เขาเคยประสบอุบัติเหตุจากรถคว่ำถึงสองครั้งในการแข่งขันรถยนต์ ครอสคันทรี่ชิงแชมป์ประเทศไทยฯ ภายใต้สังกัดทีมโตโยต้า ในปี 2543 และในปี 2544 นายจิรายุ คว้าตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขัน มีเดียชาเร้นท์ เรซซิ่ง ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และแชมป์ประหยัดนำมันรถยนต์สโกด้า

เขาเคยได้รับทุนไปฝึกอบรมการขับรถภายใต้สถานการณ์จาก สำนักรอดฮอลเทคนิเชียลของ FBI สหรัฐอเมริกา ที่รัฐเนวาดา ในปี 2538 และยังเป็นผู้บุคเบิกในการเดินทางในอินโดจีน ด้วยรถยนต์เคยเดินทางสำรวจเส้นทางไปยังเมืองฆันทเลย์และถูกกักขังบริเวณที่เมืองเชียงตุงพม่าในปี 2537 ส่วนการเดินทาง

ตลอด 20 ปี นายจิรายุ เดินทางด้วยรถยนต์จากประเทศไทย ไปที่ประเทศจีน ที่ คุณหมิง สิบสองปันนา เมืองอูรูมูฉี เข้า คาซัสสถาน ไปจบที่ อุซเบกิสถาน ในเส้นทางสายแพรไหม,ทิเบต และ ยังเป็นหัวหน้านำพาคาราวานผจญภัยจากประเทศไทย ไปที่ เมืองฮานอย ดานัง เว้ ฮอยอาน และโฮจิมินห์ ส่วนในลาว และกัมพูชา เป็นผู้นำพา ตะลุยไปที่ เสียมราฐ,พนมเปญ,พระตะบอง,ม็อกบาย,และลาวเหนือและลาวใต้ ล่าสุดในปี 2552 นายจิรายุ นำขบวนคาราวาน มุ่งลงภาคใต้ ผ่านไปยังปีนัง กัวลาลัมเปอร์, ปุตาจายา,ยะโอบารู และสิงค์โปร์ แ

ละในปี 2555 ที่ผ่านมา นายจิรายุ นำขบวนคาราวานรถยนต์ โฟว์วีล จากกรุงเทพ มุ่งหน้า เชียงราย สิบสองปันนา คุณหมิง ต้าลี้ ลี่เจียง ไปจบที่หุบเขามังกรหยก ในปี 2556 ที่ผ่านมาในเดือนกุมภาพันธ์ นายจิรายุ พาสมาชิกนักผจญภัยโดยรถยนต์ ขับรถ มุ่งหน้าสู่ ทะเลทรายมุ่ยเน่ ที่ประเทศเวียตนาม ผ่านออกทาง จังหวัดตราด เข้าสู่ กาะกง สีหนุวิลล์ ดาลัด มุยเน่ นครโอจิมินท์ วกกลับเข้าสู่ประเทศไทยที่ จังหวัด เสียมราฐ สระแก้ว[2]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 นายจิรายุ พาสมาชิกคาราวานกว่า 15 คัน มุ่งหน้า สู่ อำเภอแม่สอดจังหวัด ตาก เข้าสู่ เมืองเมียวดี ผ่านเข้าสู่เขตปกครองกะเหรี่ยง มุ่งหน้าสู่ เมืองหงสาวดี พุกาม มุ่งหน้าสู่เมืองหลวงใหม เนปิดอร์ ของ เมียร์ม่า และ เข้าสู่ย่างกุ้ง ปิดฉากการเดินทางกว่า 15 วัน ที่ รัฐยะไข่ ที่เมือง เมาะละแมง และนำคาราวานข้าม แม่น้ำสะโตง กลับสู่ประเทศที่ แม่สอดโดยสวัสดิภาพ ในปี 2558 นายจิรายุ นายจิรายุพาสมาชิกคาราวานกว่า 20 คัน มุ่งหน้าชายแดนที่จังหวัดน่าน มุ่งหน้าสู่ เดียนเบียนฟู ไปสิ้นสุดที่ซาปา

ในเดือน กุมภาพันธ์ 2559 นายจิรายุ บันทึกเส้นทางการเดินทาง 12 วัน 5,200 กม. จากกรุงเทพสู่เชียงของ หมองล้า สิบสองปันนา คุณหมิง สู่แผ่นดินสีแดงที่ตงชวน และลู่ซี่ น้ำตก9มังกรที่หยวนหยาง ทำสถิติการทดสอบรถ3ยี่ห้อ คือNissan navara ,Ssangyong stavic ,และ ทรานฟอรเมอร์ จากไทยรุ่ง ไปกลับกว่า5,200กม ในปี 2559 นายจิรายุ ขับรถจากกรุงเทพ มุ่งหน้าสู่ กรุงอูลันบารตอ มองโกเลีย สู่ ไซบีเรีย โดยรถยนต์มาสด้า

ในเดือน มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา นายจิรายุ พาสมาชิกคาราวาน 19 คัน เปิดเส้นทางโดยรถยนต์ จาก กรุงเทพ สู่รัฐกระเหรี่ยง เมืองตองจี รัฐฉาน ไทยใหญ่ เนปิดอ มัณฑะเลย์ ทาง แม่สอด จ.ตาก ทั้งที่ก่อนหน้านี้เตรียมออกเดินทาง ที่ด่านแม่สาย เชียงราย สู่เชียงตุง แต่เกิดการสู้รบ ระหว่างกองทัพกู้ชาติไทใหญ่ กับรัฐบาลพม่าจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางกะทันหัน และประสบความสำเร็จในการเดินทาง 10วัน 3,800 กม

มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา นายจิรายุพาสมาชิกคาราวานขับรถบันทึกสถิติไต่ระดับจับหิมะบนเส้นทางกว่า 7,000กม. จาก กทม. สู่เชียงรายเข้าสู่ลาวผ่าน 12 ปันนา, คุนหมิง, ตาลี่, ลี่เจียง สู่ดินแดนที่ราบสูงทิเบต แชงกรีล่า และบันทึกสถิติการขับรถไต่ระดับจับหิมะ บนหุบเขาเหมยลี่ที่ความสูง 5,200 เมตร เป็นผลสำเร็จท่ามกลางพายุหิมะตลอดเส้นทาง..

ในงานการทดสอบรถยนต์ นายจิรายุ เดินทางไปทดสอบรถยนต์ ที่ประเทศ อเมริกา, ออสเตรเลีย, ทัสมาเนีย, สวีเดน, นอร์เวย์, เบลเยี่ยม, เยอรมนี, สเปน, โปรตุเกส, ฝรั่งเศส, อิตาลี, อังกฤษ, สวิตเซอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, UAE, เกาหลีใต้, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, บรูไน ฯลฯ

ใกล้เคียง

จิรายุ จิรายุ ตั้งศรีสุข จิรายุ ตันตระกูล จิรายุ ละอองมณี จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา จิรายุส วรรธนะสิน จิรายุ ห่วงทรัพย์ จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา จิรายุ รักษาแก้ว จิรายุส เนาวเกตุ